วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เนื้อเรื่องย่อสามก๊ก

ดูบทความหลักที่ เนื้อเรื่องสามก๊ก
ระวังเสียอรรถรส ข้อความด้านล่างนี้กล่าวถึงเนื้อเรื่องหรือฉากจบ

ภาพวาดเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย สามพี่น้องร่วมคำสาบานในสวนท้อภายหลังจากที่พระเจ้าฮั่นโกโจ ได้สถาปนาราชวงศ์ฮั่นจนมีการสืบทอดราชวงศ์มามากกว่าสี่ร้อยปี ในยุคสมัยของพระเจ้าเลนเต้เกิดการขัดแย้งกันเองภายในราชวงศ์ฮั่นจนถึงการแย่งชิงอำนาจและราชสมบัติ พระเจ้าเลนเต้ไม่ทรงตั้งตนในทศพิธราชธรรม ขาดความเฉลียวฉลาด เชื่อแต่คำของเหล่าสิบขันที เหล่าขุนนางถืออำนาจขูดรีดราษฏรจนได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว โจรผู้ร้ายชุกชุมปล้นสะดมไปทั่วแผ่นดิน ดังจดหมายเหตุของจีนตอนหนึ่งได้บันทึกไว้ว่า "ขุนนางถือราษฏรดั่งหนึ่งอริราชศัตรู ขูดรีดภาษีอากรโหดร้ายยิ่งกว่าเสือ"[14] เกิดกบฎชาวนานำโดยเตียวก๊ก หัวหน้ากลุ่มโจรโพกผ้าเหลืองออกปล้นชิงเมืองต่าง ๆ จนเกิดความวุ่นวายแตกแยกแผ่นดินเป็นก๊กเป็นเหล่าจำนวนมาก

ภายหลังพระเจ้าเลนเต้สวรรคต เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระราชโอรสทั้งสองพระองค์แต่ต่างพระชนนี พระเจ้าหองจูเปียนได้สืบทอดราชสมบัติโดยมีพระนางโฮเฮาผู้เป็นมารดาเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่ในราชสำนักคงเกิดความวุ่นวายจากเหล่าขันทีทั้งสิบ โฮจิ๋นผู้เป็นพระเชษฐาของพระนางโฮเฮาจึงวางอุบายให้ตั๋งโต๊ะมาช่วยกำจัดเหล่าขันที แต่โฮจิ๋นกลับถูกลวงไปฆ่าทำให้เหล่าทหารของโฮจิ๋นยกกำลังเข้าวังหลวงเพื่อแก้แค้นจนเกิดจลาจลขึ้น ภายหลังตั๋งโต๊ะยกทัพมาถึงวังหลวงและฉวยโอกาสในขณะที่เกิดความวุ่นวายยึดอำนาจมาเป็นของตน สั่งถอดพระเจ้าหองจูเปียนและปลงพระชนม์ และสถาปนาพระเจ้าหองจูเหียบขึ้นแทน ทรงพระนามว่าพระเจ้าเหี้ยนเต้ และสถาปนาตนเองเป็นพระมหาอุปราช มีฐานะเป็นบิดาบุญธรรมของพระเจ้าเหี้ยนเต้

ตั๋งโต๊ะถืออำนาจเป็นใหญ่ในราชสำนัก สั่งประหารผู้ที่ไม่เห็นด้วยกันตนเองจนเหล่าขุนนางพากันโกรธแค้น โจโฉพยายามลอบฆ่าตั๋งโต๊ะแต่ไม่สำเร็จจนต้องหลบหนีไปจากวังหลวงและลอบปลอมแปลงราชโองการ นำกำลังทัพจากหัวเมืองต่าง ๆ มากำจัดตั๋งโต๊ะ แต่กองทัพหัวเมืองกลับแตกแยกกันเองจึงทำให้การกำจัดตั๋งโต๊ะล้มเหลว อ้องอุ้นจึงวางแผนยกเตียวเสี้ยนบุตรสาวบุญธรรมให้แก่ตั๋งโต๊ะและลิโป้บุตรบุญธรรม จนตั๋งโต๊ะผิดใจกับลิโป้เรื่องนางเตียวเสี้ยน ทำให้ลิโป้แค้นและฆ่าตั๋งโต๊ะ หลังจากตั๋งโต๊ะตาย ลิฉุยและกุยกีได้เข้ายึดอำนาจอีกครั้งและฆ่าอ้องอุ้นตาย รวมทั้งบังคับพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้อยู่ภายใต้อำนาจ สร้างความคับแค้นใจให้แก่พระเจ้าเหี้ยนเต้เป็นอย่างยิ่ง จนมีรับสั่งให้เรียกโจโฉมาช่วยกำจัดลิฉุย กุยกีและเหล่าทหาร

โจโฉเข้าปราบปรามกบฎและยึดอำนาจในวังหลวงไว้ได้ แต่เกิดความกำเริบเสิบสานทะเยอทะยานถึงกับแต่งตั้งตนเองเป็นมหาอุปราช ควบคุมพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้อยู่ภายใต้อำนาจอีกครั้ง ข่มเหงรังแกเหล่าขุนนางที่สุจริต พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงใช้พระโลหิตเขียนสาสน์ลับไปยังเหล่าขุนนางที่จงรักภักดีเพื่อให้ช่วยกำจัดโจโฉแต่ถูกจับได้ทำให้เหล่าขุนนางถูกฆ่าตายหมด ความอสัตย์ของโจโฉแพร่กระจายไปทั่วทำให้บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ พากันแข็งข้อไม่ยอมขึ้นด้วย โจโฉจึงนำกำลังยกทัพไปปราบปรามได้เกือบหมด แต่ไม่สามารถปราบปรามเล่าปี่และซุนกวนได้ เล่าปี่เป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่นมีศักดิ์เป็นอาของพระเจ้าเหี้ยนเต้ที่มีความยากจนอนาถา มีคนดีมีฝีมือไว้เป็นทหารหลายคนแต่มีกำลังไพร่พลน้อยทำให้ต้องคอยหลบหนีศัตรูอยู่เสมอ จนได้จูกัดเหลียงมาเป็นที่ปรึกษาช่วยวางแผนกำลังรบให้ จึงสามารถตั้งตนเป็นใหญ่ในเมืองเสฉวนได้ สำหรับซุนกวนเป็นเจ้าเมืองกังตั๋งโดยการสืบสกุล เป็นเจ้าเมืองที่มีศีลธรรม ปกครองบ้านเมืองด้วยความยุติธรรมจึงเป็นที่เคารพนับถือและยอมสวามิภักดิ์มากมาย ทั้งสามฝ่ายต่างทำศึกสงครามกันตลอด แต่ก็ไม่อาจเอาชนะซึ่งกันและกันได้

เมื่อโจโฉตาย โจผีบุตรชายขึ้นครองราชสมบัติแทน สั่งปลดพระเจ้าเหี้ยนเต้และสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ ทรงพระนามว่าพระเจ้าเหวินตี้ ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์วุย เล่าปี่ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่นก็สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิสืบทอดราชวงศ์ฮั่น โดยใช้เมืองเสฉวนเป็นเมืองหลวง ซุนกวนซึ่งไม่ยอมขึ้นกับพระเจ้าโจผีหรือเล่าปี่จึงตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิ ปกครองเมืองกังตั๋ง ทำให้ประเทศจีนในขณะนั้นแตกแยกออกเป็นสามอาณาจักรหรือที่เรียกขานกันว่าสามก๊กได้แก่ฝ่ายจ๊กก๊กของเล่าปี่ วุยก๊กของโจผีและง่อก๊กของซุนกวน ภายหลังจากพระเจ้าโจผี พระเจ้าเล่าปี่และพระเจ้าซุนกวนสวรรคต เชื้อสายราชวงศ์เริ่มอ่อนแอ สุมาเจียวซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นมหาอุปราชของวุยก๊ก สามารถเอาชนะจ๊กก๊กและควบคุมตัวพระเจ้าเล่าเสี้ยนมาเป็นเชลยได้สำเร็จ หลังจากสุมาเจียวตาย สุมาเอี๋ยนบุตรชายสืบทอดตำแหน่งแทนและช่วงชิงราชสมบัติของวุยก๊กมาจากพระเจ้าโจฮวนและแต่งตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิ ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์จิ้น พระเจ้าสุมาเอี๋ยนสามารถปราบพระเจ้าซุนโฮแห่งง่อก๊กให้ยินยอมสวามิภักดิ์ได้สำเร็จ แผ่นดินจีนที่เคยแตกแยกออกเป็นก๊กเป็นเหล่ามายาวนาน กลับรวมกันเป็นอาณาจักรเดียวได้ดั่งเดิม

จบเนื้อหาส่วนที่เสียอรรถรสแล้ว ข้อความด้านบนนี้กล่าวถึงเนื้อเรื่องหรือฉากจบ

[แก้] ลำดับเหตุการณ์สำคัญ
ดูบทความหลักที่ ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊ก
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้

[แก้] กลศึกสามก๊ก
ดูบทความหลักที่ กลศึกสามก๊ก
ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก มีการทำศึกสงครามมากมายหลายต่อหลายครั้ง การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งการนำกำลังไพร่พลทหารในการบุกโจมตีและยึดครองสถานที่ หรือทางการพิชิตชัยชนะทางการทูตในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง การใช้คนอย่างถูกต้อง การโจมตีทางด้านจิตใจรวมทั้งการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มี เพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ซึ่งกันและกัน[15]

แต่มีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงคราม[15] ในสามก๊กมีการใช้กลศึกจำนวนมากมายในการหลอกล่อศัตรูเพื่อชัยชนะ การต่อสู้ทางสติปัญญา สุดยอดแห่งกุศโลบายในการแสดงศักยภาพของกองทัพ แม่ทัพที่นำทัพในสนามรบนอกจากจะมีฝีมือในการที่สูงส่งแล้ว จะต้องรู้หลักตำราพิชัยสงคราม เสนาธิการที่ปรึกษาทัพจะต้องรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน รู้แจ้งในกลศึกต่าง ๆ ของศัตรู รู้ถึงจิตใจของทหารใต้บังคับบัญชา และรู้จักฉกฉวยจังหวะสำคัญในการโจมตีจึงจะสามารถเอาชนะศัตรูได้ จูกัดเหลียง จิวยี่ สุมาอี้ ลกซุน ตั๋งโต๊ะ โจโฉ กุยแกและบุคคลอื่นอีกมากมาย ล้วนแต่ชำนาญกลศึกในการทำศึกสงคราม ซึ่งกลศึกสำคัญและเป็นมาตรฐานของการทำสงครามสามก๊ก

[แก้] สงครามสามก๊ก
ซุนกวนผู้สถาปนาง่อก๊ก
เล่าปี่ผู้สถาปนาจ๊กก๊ก
โจโฉผู้สถาปนาวุยก๊ก
ทั้งสามคนได้รวบรวมผู้มีฝีมือทั่วแผ่นดิน ต้องต่อสู้กันแบ่งเป็น

วุยก๊ก
ง่อก๊ก
จ๊กก๊ก
เกิดเป็นสามก๊กขึ้นมา

[แก้] ศิลปะการใช้คน
ดูบทความหลักที่ ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้

[แก้] ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
ดูบทความหลักที่ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น